Welcome to Faculty Of Medicine Thammasat University
        Tel: +66 2926 9710-1
Title Image

Body donation

Home  /  Body donation

Facts about body donation

“อาจารย์ใหญ่” คือร่างที่ไร้วิญญาณของผู้ที่ได้แสดงความจำนงอุทิศร่างกายในยามที่ตนหมดลมหายใจเพื่อให้นักศึกษาแพทย์ ทันตแพทย์ แพทย์แผนไทย พยาบาล กายภาพบำบัด และเทคนิคการแพทย์ ได้เรียนรู้วิชากายวิภาคศาสตร์ ซึ่งเป็นวิชาที่ศึกษาถึงโครงสร้างและอวัยวะต่างๆ ของร่างกายมนุษย์เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการเรียนและนำไปประยุกต์ใช้ในการรักษาผู้ป่วยในอนาคต

สาเหตุที่ต้องใช้ “อาจารย์ใหญ่” ซึ่งเป็นร่างกายมนุษย์จริงๆในการศึกษานั้น เนื่องจากไม่มีอุปกรณ์การศึกษาใดที่จะดีไปกว่านี้ และไม่มีเทคโนโลยีใดๆที่จะมาทดแทนได้ เพราะนักศึกษาได้เรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติชำแหละร่างและศึกษาผ่านของจริงทำให้สามารถเรียนรู้รวมถึงจดจำรายละเอียดและได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง

ใช้เวลาศึกษาร่างอาจารย์ใหญ่นานแค่ไหน

สำหรับการเรียนการสอนวิชามหกายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ได้จัดให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติชำแหละและศึกษาร่างอาจารย์ใหญ่ประมาณ 1-2 ปี หลังจากนั้นญาติสามารถนำร่างที่ศึกษาแล้วกลับไปทำการฌาปนกิจเอง (ตามที่แจ้งในแบบฟอร์มการบริจาคร่างกาย) ส่วนผู้ที่แจ้งไว้ว่าให้ทางคณะแพทยศาสตร์จัดการเรื่องฌาปนกิจให้ คณะแพทยศาสตร์จะดำเนินการขอพระราชทานเพลิงศพ (เป็นกรณีพิเศษ) และแจ้งกำหนดวันพระราชทานเพลิงศพให้ญาติทราบต่อไป (เดือนมีนาคม – เมษายนของทุกปี) โดยในงานจะเชิญญาติมาร่วมงานด้วย

ทำอย่างไรกับร่างอาจารย์ใหญ่บ้าง

ร่างผู้บริจาคจะถูกแช่น้ำยาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี ทั้งนี้เพื่อให้กล้ามเนื้อและส่วนต่างๆของร่างกายได้รับการรักษาไว้เป็นอย่างดี แล้วจึงจะนำมาศึกษาได้ ในแต่ละปีการศึกษา (ประมาณเดือนมิถุนายน) คณะแพทยศาสตร์ จะจัดงานทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้อาจารย์ใหญ่ก่อนเปิดภาคเรียน และเชิญญาติของอาจารย์ใหญ่มาร่วมงานทำบุญรวมทั้งเคารพศพด้ว

ข้อปฏิบัติสําหรับญาติในการจัดการร่างผู้บริจาคที่เสียชีวิต

  1. เมื่อผู้บริจาคเสียชีวิตให้ญาติโทรแจ้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภายในใน 24 ชั่วโมง ที่หมายเลขโทรศัพท์ 084 534 8291
  2. ให้ญาติเตรียมหนังสือรับรองการตายซึ่งออกโดยสถานพยาบาล เจ้าหน้าที่ตํารวจ หรือผู้มีอํานาจเพื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่ พร้อมทั้งสําเนาบัตร ประจําตัวประชาชนของญาติสายตรงหรือผู้รับมอบอํานาจ
  3. เจ้าหน้าที่ทําการตรวจสภาพร่างกายของผู้บริจาคที่เสียชีวิตและเจาะเลือดเพื่อตรวจหาการติดเชื้อไวรัสเอดส์ ไวรัสตับอักเสบชนิดบี และโรคซิฟิลิส หากพบการติดเชื้อชนิดใดชนิดหนึ่ง ทางคณะแพทยศาสตร์ต้องขอปฏิเสธการรับร่างผู้บริจาค
  4. หากสภาพร่างกายของผู้บริจาคสมบูรณ์และไม่พบการติดเชื้อใดๆ ทางคณะแพทยศาสตร์จะรับผู้เสียชีวิตมาเป็นอาจารย์ใหญ่
  5. ให้ญาติขอใบมรณบัตรจากสํานักทะเบียนท้องที่ที่ผู้บริจาคร่างกายเสียชีวิต โดยระบุในช่องที่ 6 จัดการศพโดย “บริจาคร่างกาย” สถานที่ “คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามได้ที่โทรศัพท์ 084 534 8291, 02 926 9714 หรือ โทรสาร 02 926 9710
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120

สถานที่ติดต่อขอรับบริจาคร่างกาย

ติดต่อโดยตรงที่ธุรการสถานวิทยาศาสตร์พรีคลินิก ชั้น 4 อาคารคุณากร
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

โทรศัพท์ 0-2926-9710 ถึง 1, 0-2926-9714

เบอร์โทรศัพท์ติดต่อเมื่อผู้บริจาคร่างกายเสียชีวิต (กรุณาแจ้งภายใน 24 ชั่วโมงหลังการเสียชีวิต)

ในเวลาราชการ: จันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30- 16.30 น.  โทรศัพท์ 0-2926-9714, 0 2926 9710 ถึง 1

นอกเวลาราชการ: โทรศัพท์ 08-4534-8291, 0-2926-9999